อาร์เรย์หมายถึงการจัดชุดของข้อมูลที่เป็นชนิดเดียวกันที่กำหนดโดยรูปแบบของช่องตารางที่จัดเก็บจะต้องเท่ากันทุกช่องโดยทั่วไปอาร์เรย์จะมี 1 มิติ 2 มิติ และหลายมิติ
ในการคำนวณหาสมาชิกของอาร์เรย์ 1 มิติทำได้ดังนี้
จำนวนสมาชิกของอาร์เรย์ = (u-l)+1u คือค่าสูงสุด
หรือ Upper boundl คือค่าต่ำสุด หรือ Lower bound
ส่วน 2 มิติสามารถหาได้ดังนี้
จำนวนสมาชิก = M x N
รูปแบบของการประกาศตัวแปรอาร์เรย์มิติเดียว
type array-name[n];type คือ ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น เช่น int,float,char เป็นต้นarray-name คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ที่ต้องตั้งให้สื่อและเข้ากับชนิดของตัวแปรและจะต้องไม่ไปตรงกับคำสงวนของภาษาซีด้วยn คือขนาดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น
การกำหนดข้อมูลให้กับตัวแปรอาร์เรย์เราสามารถกำหนดไปพร้อมกับการประสร้างตัวแปรได้เลย
value-1,value-2 คือข้อมูลที่กำหนดให้ตัวแปรและต้องเป็นชนิดเดียวกับตัวแปรนั้น ๆ ด้วย เช่น
int number[3] = {23,-123,43};
char name[5] = "BENZ";
อาร์เรย์ 2 มิติมีลักษณะการกำหนดตำแหน่งแบบแถวและคอลัมน์
รูปแบบของการประกาศตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ
type array-name[n][m];type คือ ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น เช่น int,float,char เป็นต้นarray-name คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ที่ต้องตั้งให้สื่อและเข้ากับชนิดของตัวแปรและจะต้องไม่ไปตรงกับคำสงวนของภาษาซีด้วยn คือ จำนวนแถวของตัวแปรอาร์เรย์m คือ จำนวนคอลัมน์ของตัวแปรอาร์เรย์
Structure โครงสร้างข้อมูลหมายถึง การที่นำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ข้อมูลของนักศึกษาที่อาจประกอบด้วยชื่อ,นามสกุล,อายุ,เพศ,ชั้นเรียน มารวมกันและจัดทำเป็นโครงสร้างข้อมูล ดังภาพ
แต่ในการเรียนใช้งานจริง ๆ เราจะต้องสร้างตัวแปรชนิดโครงสร้างขึ้นมาใช้งานจริง ๆไม่สามารถใช้โครงสร้าง student ได้การประกาศตัวแปรชนิดโครงสร้าง
struct คือ คำที่ใช้กำหนดโครงสร้างข้อมูล(ต้องมีเสมอ)
name คือ ชื่อของโครงสร้างข้อมูลที่จะสร้างขึ้น
type var-1,type var-2 คือชื่อตัวแปรในกลุ่มโครงสร้างข้อมูล
struct-variable คือชื่อของตัวแปรชนิดโครงสร้างที่ต้องการสร้างขึ้นจะมีลักษณะโครงสร้างภายในเหมือนกับโครงสร้างข้อมูลที่กำหนด
*** เราสามารถประกาศ Structure หนึ่งเป็นสมาชิกของอีก Structure ก็ได้แต่ต้องประกาศตัวที่จะนำไปใส่ไปไว้อีก Structure ก่อน
** กรณีเป็นข้อความต้องใช้เรียกฟังชั่น strcpy
เขียนและบันทึกโดย ITTHA THONGJARM
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น